อภิปรัชญาของอริสโตเติล : จักรวาลวิทยาในภาพรวม


อริสโตเติลเขาตั้งคำถามซึ่งมันอยู่ในประเด็นเรื่องจักรวาลในภาพรวม โดยเขาตั้งคำถามขึ้นว่าในอนาคตโลกหรือจักรวาลจะเป็นอย่างไร คือ อริสโตเติลเขาพูดถึงเรื่อง “เวลา” ก็เหมือนกับเรา ก็เหมือนกับคนสมัยนี้ เหมือนกับทางพุทธ เวลานั้นก็มี อดีต ปัจจุบัน แล้วก็ อนาคต เสร็จแล้วก็มีคำถามทำนองว่า เวลาเป็นของมีจริง หรือว่า เวลานั้นเป็นนามสมมุติ ไว้เรียกการที่สิ่งต่างๆทั้งหลายนั้นเปลี่ยนแปลง เช่นไว้เรียกการที่ดวงอาทิตย์มันเลื่อนจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกย้ายมาอยุ่ตรงหัวเราว่า เป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ชั่วโมง มันเป็นเรื่องสมมุติ เพราะว่า จริงๆแล้วต่อให้ไม่มีสิ่งต่างๆในจักรวาล เวลาก็มีอยู่ ซึ่งประเด็นนี้ พวกกรีก หรือ พวกอินเดียโบราณ ยกเว้นพระพุทธศาสนา พวกนี้เขาเชื่อว่า เวลามีอยู่ เขามีแนวโน้มที่เชื่อว่า “เวลาเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง”  

ก่อนที่จะมีเวลาสมมุติ มีเวลาจริงอยู่ก่อนแล้ว ไอแซ็ก นิวตัน ก็เชื่ออย่างนั้น ดังนั้นในหนังสือของนิวตัน ก็จะพูดถึง Absolute space, Absolute Time  อไควน์นัส ก็เชื่ออย่านั้น อริสโตเติลเองก็เชื่ออย่างนั้น เวลาที่พูดถึงเรื่อง อดีต ปัจจุบัน อนาคต มันมีคำถามต่อไปว่า นี่คือ อดีต แล้วก็มา ปัจจุบัน แล้วก็ไปอนาคต คำถามที่ว่า คือ อนาคตนั้นมันไปไหน มันไปข้างหน้า ทิศอื่น เรื่อย หรือมันย้อนกลับมาอดีตอีกครั้ง ซึ่งมันก็น่าคิด

มีนักปรัชญาหลายคน บอกว่า กาลเวลาอยู่ในลักษณะที่เป็นวงกลม นิชเช่ ก็คิดอย่างนี้ครับ นิชเช่บอกว่า ณ เวลานี้มี ทุกท่าน และผม ณ ขณะนี้ แบบนี้ คือถ้าถ่ายวีดีโอไว้ก็จะเห็นเป็นแบบนี้ 

นิชเช่ เชื่อว่า เคยมีเหตุการณ์แบบนี้ คือมี ทุกท่าน และผม ที่เป็นคนไทย เคยเข้าอินเตอร์เน็ต อ่านบทความหน้าจอแบบนี้ หรือ หรือเคยพูดจาสนทนากัน สมมุติว่า อีกสิบนาทีข้างหน้าท่านผู้อ่านจะพูดอะไรบางอย่างออกมา ของเหล่านี้ถูกบันทึกเอาไว้ เรียบร้อยหมดแล้ว ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ มันเคยเกิดมาในจักรวาลนี้ไม่รู้กี่ครั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะฉะนั้นในทัศนะของนิชเช่ ภาพที่กำลังเกิดขึ้นในห้องนี้ เป็นหนังม้วนเก่านะครับ ที่เขาเอามารีรัน ไม่รู้กี่ครั้ง ว่าเป็นรอบที่เท่าไหร่แล้ว ทีนี้ในอินเดีย เจ้าลัทธิบางคนเขาก็เชื่อแบบนี้เหมือนกันครับ เจ้าลัทธิที่เชื่อในเรื่อง determination ของจักรวาล ชื่อ ปกุทธะ กัจจายนะ โดยเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ดังนั้นอย่าไปเพียรพยายามที่จะทำนั่นทำนี่ ตามที่พระสมณะโคดมสอนเลยนะครับ พวกคุณเป็นตัวละครที่อยู่ในฟิมล์ ถูกนำเอามารีรันใหม่ แม้แต่ตัวพระสมณะโคดม ที่พูดให้ทำนั่นทำนี่ ก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นตัวละครอยู่ในฟิมล์ พูดของซ้ำเดิมมาไม่รู้กี่รอบแล้ว ดังนั้นไม่ต้องไปเสียเวลา อยากจะทำอะไร อยากจะกินอะไรก็กินเลย อยากจะนอนก็นอน ขี้เกียจไปทำงานก็นอนอยู่บ้าน ถ้าเมียมาด่าก้ไม่ต้องตกใจ มันด่าเราแบบนี้มาซ้ำแล้วซ้ำเล่า อยู่แล้วก็สบายใจดี นี่คือ แนวคิดบอกว่า มนุษย์นั้นไม่มี เสรรีภาพ (Freedom) ไม่มี  Freewillเลย ในทัศนะของ ปกุทธะ กัจจายณะ ทำให้เห็นว่า อินเดียสมัยก่อนนั้นมีลัทธิที่น่าสนใจหลายแบบนะครับ

แนวคิดที่วาดว่า นี่คืออดีต ลูกศรชี้ไปที่ปัจจุบัน  ปัจจุบันก็ชี้ไปที่อนาคต เสร็จแล้ว ผมถามว่าจากอนาคตมันชี้มาที่อดีตซ้ำอีก หรือว่ามันชี้ไปที่อื่น ประเด็นนี้มันเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญในทางเมตาฟิสิกส์ ฝากเป็นคำถามให้คิดกันหน่อยครับว่า พระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนาของเรา ทรงคิดแบบไหน?? แต่ผมคิดว่า มันคงไม่วนมาที่เดิมหรอก ถ้าว่าตามทัศนะของศาสนาพุทธเรา เพราะถ้ามันวน ก็ไม่รู้จะเป็นอรหันต์ไปทำไม หรือว่าที่วนๆ ซึ่งคำบาลี เรียกว่า วัฏฏะ ที่เราบอกว่า วัฏฏะ แปลว่า วน ใช่มั้ยครับ หรือว่า ถ้าเป็นปุถุชน มันก็จะวนอยุ่นี่แหละ แต่ถ้าเป็นอริยะ ก็อาจจะหลุดออก คำว่าอรหันต์ บางทีเราก็แปลว่า ผู้ที่หัก Cercle วงกลมนี้ได้ หักก็คือ ออกไปจากตรงนั้นเลย ออกมาก้ไปที่อื่น ก็ไม่ต้องมาวนอีกละ อาจจะเป็นนิพพาน หรือว่าอะไรก็ว่าไป เพราะงั้นเราอาจจะต้องแยกออก ว่าถ้าเป็นปุถถุชนก็คือ ยังวนต่อ ดังนั้นทฤษฎีของนิชเช่ที่บอกว่า เป็นไปได้ แล้วก้เป็นมาแล้วด้วย ที่มี ท่านและผม อยู่ในห้องและทำกิจกรรมแบบที่ทำอยู่นี้ ถ้าคิดในแง่ สังสารวัฏ แบบนิชเช่ที่ว่า ก็เป็น เสร็จแล้วนิชเช่ก็บอกว่า ถ้าท่านไม่อยากจะมาวนแบบนี้ เช่น ถ้าผลสอบ ผลคะแนนออกมาบออกว่า วิชานี้ได้ F ไม่อยากจะได้ F ก็หักออกไปล่ะครับ ไปปฏิบัติธรรมจนเป็นอรหันต์ จะได้ไม่ต้องมาวนได้Fอีก ฝากไปคิดต่อนะครับ นีก็อาจจะเป็นไปได้ หากเรามีมุมมองอย่างนั้น 

แต่ทางอริสโตเติลเขาคิดว่า เรื่อง อดีต ปัจจุบัน อนาคต นั้นมันไม่ได้วนกลับมาที่เดิมหรอก เพราะเขาคิดว่ามัน ไปเรื่อย แต่ก็อาจจะไปสร้างวงจรใหม่ คือเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตใหม่ เส้นใหม่ไปเลยอะไรอย่างนี้ แต่อริสโตเติลเขาบอกว่า ท้ายที่สุดแล้วสิ่งต่างๆที่เราเห็นว่าเปลี่ยนแปลง มันจะต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่จุดหมายบางอย่างแน่นอน แล้วอริสโตเติลบอกว่า การคิดว่า ไอ้นั่นเป็นนั่นเป็นนี่ หรือที่อย่างที่นิชเช่บอกว่า เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ แบบที่กำลังเกิดในสถาณการณ์ที่เป็นอยู่นี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก้เกิดมาจากจินตนาการ ล้วนๆของนิชเช่ พอไปถามว่า พี่รู้ได้ยังไง นิชเช่ก้ไม่ตอบ แต่ถ้าไปถามอริสโตเติล เขาก็จะบอกว่า ผมมีวิธีคิดครับ

ที่อริสโตเติลเข้าเชื่อคือ ในจักรวาล สิ่งต่งๆมันจะต้องพัฒนาไปข้างหน้า เขาคิดว่า เราสังเกตเห็นบางอย่างในระหว่างทาง และทำให้เราพยากรณ์ได้ ท่านเคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราถึงต้องแก่ ทำไมตอนที่เราเกิดจากท้องแม่เราไม่แก่ออกมาเลย เสร็จแล้วพออยู่นานๆเข้าก็ค่อยๆหนุ่มขึ้นๆ ทำไมถึงไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ ทำไมเราเริ่มต้นจากการเป็นเด็กแล้วแก่ ทำไมปากกาหรือว่าคอมพิวเตอร์ ที่ซื้อมาต่อให้ห่อหุ้มดูแลรักษาดีอย่างไร หลายปีผ่านไป คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็เก่า ถามว่าทำไมมันเก่า ทำไมมันไม่ใหม่ตลอด ทำไมคอมพิวเตอร์มันไม่ใหม่ขึ้นเรื่อยๆ  พุทธเราอาจจะบอกว่า มันเป็นอนิจจัง แต่ไม่น่าเชื่อนะครับว่า อริสโตเติลเขาอยู่ในยุคโน้นไม่ได้มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรแต่ก็ยังพยายามที่จะตอบคำถามนี้ และคำตอบของอริสโตเติล เป็นอย่างนี้ครับ

อริสโตเติลบอกว่า สิ่งต่างๆมันมีสองสถานะ ซึ่งแนวคิดนี้มีประโยชน์มากนะครับ คือสภาพที่อยู่ในตัวของสิ่งต่างๆ แต่มันยังไม่ปรากฏออกมา อริสโตเติลเรียกว่า potentiality เราแปลสิ่งนี้ว่า สภาพ หรือสภาวะแฝงครับ สภาพแฝงของท่าน หรือของพวกเราแต่ละคน มันจะค่อยๆปรากฏ เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นทุกท่านที่อยู่ในห้องนี้รวมทั้งผมด้วย มี potentiality คือสภาพแฝงอย่างหนึ่งคือ ความเป็นผี คือตอนที่เราตาย ทุกท่านรวมทั้งผม เรามีความเป็นและความเป็นศพอยู่ในตัว ทีนี้ความเป็นคนมันคือ actuality เราก็ยังเดินได้ พูดได้ วันหนึ่งเราอาจจะนอนแล้วเราก็ตาย potentiality คือความเป็นศพมันแสดงตัว แล้วเราก็ขึ้นอืดอยู่บนเตียง คนก็เอาเราไปเผา เอาไปฝัง ในเมล็ดข้าว ตอนที่มันเป็นเมล็ดข้าว actuality ของมันก็คือ เมล็ด แต่ในเมล็ดข้าวมันมี potentiality คือ ต้นข้าวอยู่ไงครับ เพราะงั้นเวลาเราเอาเมล็ดข้าวไปหยอด มันถึงได้งอกเป็นต้นข้าว ไม่เป็นต้นมะม่วง เพราะว่าในเมล็ดข้าวไม่มี potentiality ของความเป็นต้นมะม่วง ปลูกให้ตายก็ไม่ได้ต้นมะม่วง จะได้ต้นข้าว นี่คือวิธีคิด เพราะงั้นอริสโตเติลบอกว่า potentiality ของคน โดยรวมๆมันก็มองได้ไม่ต่างกัน มันก็เหมือนที่พระพุทธศาสนาเราสอนเรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันนี้ก็เป็น potentiality ที่แฝงหลักๆอยู่ แต่รายละเอียดว่าใครจะตายเพราะโรคตับแข็ง เพราะท้องร่วงตาย โควิด ติดเอดส์ตาย มะเร็งตาย ติดเชื้อในกระแสเลือดตาย อันนั้นเป็น potentiality ของแต่ละคน ที่ไม่เหมือนกัน แล้วอริสโตเติลเองก็อธิบายไม่ได้ว่า potentiality ที่ไม่เหมือนกันมันเกิดยังไง ทางพุทธ อาจจะบอกว่าในเป็นเพราะกรรม แต่ว่า อริสโตเติลเขาไม่ได้อธิบาย ที่ไม่อธิบายเพราะว่า บางทีมันเกิดเหตุการณ์ที่ ถ้าเรามองย้อนหลังมันทำให้คิดครับว่า ทำไมมันถึงเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ มันมี potentiality ที่แน่นอนว่าเราจะตายด้วยอาการยังไงเรียบร้อยแล้ว รออย่างเดียวคือรอเวลา เวลานี่คือสิ่งที่ทำให้ potentiality มันแสดงตัว เป็นactuality ทีละนิดทีละหน่อย ในห้องนี้ทุกท่านและผม มีอนาคตที่เรียบร้อยเอาไว้แล้ว รอให้มันกลายเป็น actuality ตามวันเวลาเท่านั้นเอง 

เพราะงั้นแนวคิดของอริสโตเติล บอกว่านี่ไงที่เราพูดถึงอนาคตของจักรวาล อันนี้เราพูดถึงของเล็กๆน้อยๆ ที่เกาะอยู่ที่ดาวดวงนี้ที่เรียกว่าโลก  แต่ที่นี้ อนาคตของจักรวาลทั้งหมดอริสโตเติลบอกว่า เราอนุมาได้จากการที่เราเห็นว่า สิ่งต่างๆมันถูกบรรจุเป้าหมาย บรรจุ potentiality เอาไว้ละ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ตรงนี้ครับ ถ้ามีคนถามว่า เปลี่ยนได้มั้ย อริสโตเติลบอกว่ามันไม่มีเหตุผลที่จะบอกว่าทำยังไงถึงจะเปลี่ยนได้ ถ้าคิดแบบนี้นะครับ อริสโตเติล กับปกุทธะ กัจจายณะ ส่วนหนึ่งคิดคล้ายกัน ผมอยากจะถามท่านซักนิดหนึ่งว่า ในทัศนะของพุทธศาสนา เราเปลี่ยน potentiality ที่อยู่ในตัวเรา เช่น potentiality ที่เราจะตายเพราะว่า เป็นโรคร้าย ทำได้มั้ย ทำยังไง หรือว่า ต้องสร้างกรรมใหม่อะไรยังไง 

แนวคิดเรื่อง สภาวะแฝง potentiality ของอริสโตเติลในแง่หนึ่งมันก็พิสูจน์ไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นการพูดย้อนหลังใช่มั้ยครับ เช่น เพื่อนเราตายไปแล้ว เราถึงได้พูดได้ว่า เจ้าตัวคงไม่รู้หรอกว่า สิ่งนี้คือข้อมูลที่เขาจะตายอย่างนั้นอย่างนี้ มันถูกฝังไว้ในชีวิตเขาแล้ว มันตรวจสอบไม่ได้เพราะว่า พูดตอนที่เขาตายแล้ว แต่ว่าพรพุทธศาสนาบอกว่า อนาคตเราไม่รู้ แต่สิ่งที่เรารู้ ก็คือว่า ถ้าเราจินตนาการว่า เราอาจจะตายด้วยโรคหัวใจ ด้วยความดัน ก็กินแต่พอดีสิ อย่ากินมัน ออกกำลังกายสิ อันนี้มันก็มีเหตุผล เสร็จแล้วพอเราอยู่ได้นาน แล้วให้ อริสโตเติลมามอง ก็จะบอกว่า นี่ไง พอถึงจุดหนึ่ง เราก็จะคิดได้ ก็ออกกำลัง เสร็จแล้วเราก็อายุยืน มันถูกกำหนดไว้แล้ว เถียงกันไม่จบอีกละครับ แต่ผมคิดว่าในทัศนะของพุทธเรา ในแง่ความคิดสร้างสรรค์ มันทำให้เราทำอะไรต่างๆได้โดยไม่นอนอยู่เฉยๆ  


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวคิด นิรันดร์สถิตย์ (Eternal Recurrence) ของ นิชเช่ (Nietzsche)