บทความ

แนวคิด นิรันดร์สถิตย์ (Eternal Recurrence) ของ นิชเช่ (Nietzsche)

แนวคิดอภิปรัชญาของอริสโตเติลเกี่ยวกับจักรวาลและเวลานั้น มีประเด็นที่ซับซ้อนและน่าสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ซึ่งเขาได้พยายามตอบคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของเวลาและความเปลี่ยนแปลงในจักรวาล อริสโตเติลมองว่าเวลามีอยู่จริง ไม่ใช่เพียงแค่นามสมมุติในการบอกเล่าการเปลี่ยนแปลง เขาเชื่อว่าเวลาและการเปลี่ยนแปลงนั้นมีการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง (teleological process) โดยสิ่งต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนจาก potentiality (สภาวะแฝง) ไปสู่ actuality (ความเป็นจริงที่ปรากฏ) ตามเวลาที่กำหนดไว้ ประเด็นเรื่องเวลานั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปรัชญา เช่น นิชเช่ที่เสนอแนวคิดเรื่องการวนเวียนของเวลา โดยเชื่อว่าเหตุการณ์ต่างๆ ในจักรวาลนั้นเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่มีที่สิ้นสุด (eternal recurrence) ซึ่งตรงข้ามกับอริสโตเติลที่เชื่อว่า สิ่งต่างๆ ในจักรวาลนั้นจะค่อยๆ พัฒนาไปสู่จุดหมายบางอย่างในอนาคตโดยไม่ย้อนกลับมาที่เดิม Eternal Recurrence (นิรันดร์สถิตย์) เป็นแนวคิดทางปรัชญาที่มีอิทธิพลอย่างมาก โดยเฉพาะในผลงานของ Friedrich Nietzsche ซึ่งเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนแนวคิดนี้ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แนวคิดนี้มี...

อภิปรัชญาของอริสโตเติล : จักรวาลวิทยาในภาพรวม

อริสโตเติลเขาตั้งคำถามซึ่งมันอยู่ในประเด็นเรื่องจักรวาลในภาพรวม โดยเขาตั้งคำถามขึ้นว่าในอนาคตโลกหรือจักรวาลจะเป็นอย่างไร คือ อริสโตเติลเขาพูดถึงเรื่อง “เวลา” ก็เหมือนกับเรา ก็เหมือนกับคนสมัยนี้ เหมือนกับทางพุทธ เวลานั้นก็มี อดีต ปัจจุบัน แล้วก็ อนาคต เสร็จแล้วก็มีคำถามทำนองว่า เวลาเป็นของมีจริง หรือว่า เวลานั้นเป็นนามสมมุติ ไว้เรียกการที่สิ่งต่างๆทั้งหลายนั้นเปลี่ยนแปลง เช่นไว้เรียกการที่ดวงอาทิตย์มันเลื่อนจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกย้ายมาอยุ่ตรงหัวเราว่า เป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ชั่วโมง มันเป็นเรื่องสมมุติ เพราะว่า จริงๆแล้วต่อให้ไม่มีสิ่งต่างๆในจักรวาล เวลาก็มีอยู่ ซึ่งประเด็นนี้ พวกกรีก หรือ พวกอินเดียโบราณ ยกเว้นพระพุทธศาสนา พวกนี้เขาเชื่อว่า เวลามีอยู่ เขามีแนวโน้มที่เชื่อว่า “เวลาเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง”   ก่อนที่จะมีเวลาสมมุติ มีเวลาจริงอยู่ก่อนแล้ว ไอแซ็ก นิวตัน ก็เชื่ออย่างนั้น ดังนั้นในหนังสือของนิวตัน ก็จะพูดถึง Absolute space, Absolute Time  อไควน์นัส ก็เชื่ออย่านั้น อริสโตเติลเองก็เชื่ออย่างนั้น เวลาที่พูดถึงเรื่อง อดีต ปัจจุบัน อนาคต มันมีคำถามต่อไปว่า นี่คือ อดีต แ...
อารมณ์ ความเชื่อ และ เหตุผล : สถานะของศาสนากับวิทยาศาตร์อีกแง่มุมหนึ่ง วิทยาศาตร์เป็นตัวอย่างของระบบแสวงหาความรู้ที่วางอยู่บนเหตุผล เมื่อเราต้องการให้เยาวชนของเราคิดอย่างมีเหตุผล จึงสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน แต่ผลที้ได้ คนที่ใช้แอพพ์ดูดวง ฤกษ์ยามตรวจดวงชะตา โดยมากกลับเป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาของรัฐมาแล้ว หลายคนอาจจบปริญญาตรี หรือสูงกว่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น นักพูด สร้างแรงบันดาลใจที่เรียกว่าไลฟ์โค้ช ที่มักนำพุทธพจน์ ยกหลักธรรมของพระพุทธเจ้า มานำเสนอจนโด่งดังมีชื่อเสียง ก็ยังเชียร์ ลูกหาบแฟนเพจ ใช้แอพพ์ดูดวงตรวจชะตา กันอย่างคึกคัก ซึ่งสิ่งที่นำเสนอทั้งสองอย่างที่ว่ามันหักล้างกันเอง... นั่นแสดงว่าเอาเข้าจริง เหตุผล ไม่ใช่สิ่งที่สามารถเอาชนะความเชื่อได้  วิทยาศาตร์อาจเข้าใจผิดก็ได้ว่า เหตุผลจะช่วยให้มนุษย์ ชนะทุกอย่าง เพราะสิ่งที่มีพลังรุนแรงที่สุดในตัวมนุษย์คือ "ความเชื่อ" อริสโตเติล (Aristotle) เองก็คงต้องอาจกลับมาทบทวนคำพูด ที่บอกว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล (Humen being are rational)  เพราะจะว่าไปแง่นี้ มนุษย์นั้นแหละไร้เหตุผลสิ้นดี วิทยาศาสตร์อาจมองศาสนา โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์...